๑) ปรับให้มีรายวิชา "๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน" เป็นรายวิชาบังคับ ให้นิสิตทุกคนต้องเรียน โดยเปิดโอกาสให้คณะ-วิทยาลัยต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมกัน เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับโครงการ ๑ หลักสูตร ๑ ชุมชน อย่างเหมาะสม
๒) ปรับให้มีรายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานสำหรับวิชาชีพ เป็นวิชาเลือก โดยเปิดโอกาสให้คณะต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการเรียนการสอน เช่นกัน
ทั้งสองประเด็นนี้ถือเป็นนโยบายจากผู้บริหารมหาวิทยาลัย ที่ต้องนำไปปฏิบัติต่อไป ...
อย่างไรก็ดี... แม้จะมีหลักสูตรดีอย่างไรก็ตาม แต่หากกระบวนการเรียนรู้ไม่ดี การจะสร้างบัณฑิตที่เป็นคนสมบูรณร์หรือเป็นคนดีนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
ถ้าวิเคราะห์จากเกณฑ์ประกันคุณภาพทั้งภายในและภายนอก จะพบตามลำดับดังนี้ว่า
- นิสิตจะมีคุณภาพต้องมีการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ
- การจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพต้องประกอบด้วย จะต้องมี ๑) มีหลักสูตรที่มีคุณภาพ ๒) มีอาจารย์ที่มีคุณภาพ (ในความหมาของเกณฑ์ประกันคือมีตำแหน่งทางวิชาการ) ๓) การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ๔) มีสื่อการสอนและนวัตกรรมการสอนที่เหมาะสม และ ๕) มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนการสอน หมายถึงห้องเรียน อุปกรณ์โสตทัศน์ หนังสือ ห้องสมุด แหล่งเรียนรู้ และบรรยากาศที่ดี
- ต้องมีกิจกรรมพัฒนานิสิตที่เหมาะสม ส่งเสริมสอดคล้องทั้ง ๕ ด้าน ได้แก่ วิชาการ นันทนากร กีฬา ทำนุบำรุง บริการชุมชนและสังคม
- ต้องมีการบูรณาการระหว่างการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ
คำตอบ... ที่มีผู้ทำสำเร็จแล้วคือ สร้างระบบติดตามและระบบฐานข้อมูลบันทึกการเข้าสอนของอาจารย์โดยใช้เจ้าหน้าที่ของคณะฯ ... อย่างไรก็ดี ผมคิดว่าวิธีนี้ไม่น่าจะให้ผลดีต่อการพัฒนาในระยะยาวสำหรับรายวิชาศึกษาทั่วไป เว้นแต่จะทำการสำรวจไปยังนิสิตโดยตรง หรือตัวแทนนิสิต โดยอาจารย์ผู้สอนเองก็ต้องยอมรับก่อนจะมีระบบติดตามนี้
แนวคิดของผู้บริหารสำนักศึกษาทั่วไปขณะนี้คือสร้างเครือข่ายและความร่วมมือของอาจารย์ผู้สอน คณะ/สาขา/วิทยาลัย ให้ทุกคนเข้าใจบทบาทของสำนักศึกษาทั่วไป ที่จะเน้นเป็นผู้ประสานงานกลาง เป็นผู้เอื้ออำนวยการให้อาจารย์ผู้สอนซึ่งควรเป็นส่วนหนึ่งของสำนักศึกษาทั่วไป สามารถร่วมกันพัฒนาและออกแบบแนวทางการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนภายใต้นโยบายของผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น