วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

โครงการนิสิต LA _ ๐๒ : กระบวนการรับสมัครและพัฒนา นิสิตผู้ช่วยอาจารย์ (Lecturer Assistant: LA)

ตามที่ได้เล่าที่มา ที่ไป ความตั้งใจ และความคาดหวังไว้ที่บันทึกนี้  ปัญหาคือ จะทำอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายนี้ให้ได้... บันทึกนี้คือ "ระบบและกลไก" ที่เราวางไว้และเริ่มใช้นำร่องแล้ว ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๘ นี้จะนำส่วนที่ดีมาทำอีกและหลีกเลี่ยงและพัฒนาแก้ปัญหาที่เราพบ  ซึ่งจะเล่าไว้ในบันทึกนี้เฉพาะในส่วนที่จะมีประโยชน์ในการสื่อสารกับ นิสิตที่กำลังจะสมัครใหม่ และอาจารย์ผู้สอนที่ประสงค์จะใช้นิสิต LA (Lecturer Assistant) ในภาคการศึกษานี้ และภาคการศึกษาถัดไปตราบที่ยังมีโครงการนี้อยู่

จำทำอย่างไรถ้าอยากเป็นนิสิต LA

การสร้างนิสิต LA เริ่มที่คุณสบัติของนิสิตเบื้องต้น คือ ต้องเป็นนิสิตชั้นปี ๓ ปี ๔ ที่มีความประพฤติดี สำคัญที่สุดคือซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา มนุษย์สัมพันธ์ดี และรับผิดชอบต่องาน และเพื่อให้แน่ใจว่า จะไม่มีผลกระทบต่อการเรียน จึงกำหนดเกรดเฉลี่ยไว้ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐ (GPAX) ไว้ด้วย  นิสิตที่มีคุณสมบัติตามนี้ คลิกกรอกใบสมัครไว้ก่อนเลยที่นี่ครับ



(หรือคลิกที่นี่)

เมื่อสมัครแล้วเบื้องต้น  สามารถเตรียมเอกสารยื่นที่ห้อง CADL ฝ่ายพัฒนานิสิตของสำนักศึกษาทั่วไป รายละเอียดอ่านในประกาศที่นี่ครับ   

มีหลักฐานอย่างหนึ่งที่ทั้งนิสิตและอาจารย์ผู้สอนอาจจะสงสัย ว่าทำไมต้องมีใบรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรือใบรับรองจากอาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป  จึงขอแบ่งอธิบายเป็น ๒ กรณี ดังนี้ 

๑) กรณีนิสิตผู้สนใจทั่วไป   จะต้องให้อาจารย์ที่ปรึกษารับทราบว่า ประสงค์จะมาเป็นนิสิต LA เพื่อให้ท่านช่วยพิจารณาตัดสินใจว่า จะมีผลต่อการเรียนในสาขาหรือไม่  และเพื่อความสะดวกต่อการสื่อสาร ติดตาม และรายงาน ให้อาจารย์ที่ปรึกษาทราบ 

๒) กรณีที่อาจารย์ผู้สอนรายวิชาศึกษาทั่วไป ประสงค์จะระบุตัวนิสิตที่จะมาปฏิบัติงานในรายวิชาที่ตนสอนในภาคเรียนนั้นๆ นิสิตผู้สมัครต้องได้รับการรับรองจากอาจารย์ผู้สอนฯ  ถือเป็นการคัดเลือกเบื้องต้นจากอาจารย์ผู้ใช้บริการนิสิต LA   เปรียบเสมือนการส่งรายชื่อมาจากอาจารย์โดยตรง  ซึ่งในแต่ละรายวิชา อาจารย์จะสามารถส่งจำนวนรายชื่อนิสิตได้ไม่เกินเกณฑ์ที่ทางสำนักศึกษาทั่วไปได้ประกาศ ดาวน์โหลดรายละเอียดได้ที่นี่   

อย่างไรก็ดี นิสิตผู้สนใจในทั้งสองช่องทางนี้ จะต้องผ่านการตรวจสอนคุณสมบัติต่างๆ ที่กำหนดในประกาศ และผ่านการสัมภาษณ์จากสำนักศึกษาทั่วไป เพื่อจัดเก็บข้อมูลและจัดทำข้อตกลงร่วมกัน รวมทั้ง ต้องเข้ารับการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้ได้รับรู้ เข้าใจ และมั่นใจว่า จะสามารถทำหน้าที่ได้  ก่อนจะได้รับการประกาศให้เป็นนิสิต LA ต่อไป ... ดังแผนผังด้านล่าง




ทำไมฉันอยากเป็นนิสิต LA

ขอเขียนความเห็นของตนเอง ในฐานะอาจารย์คนหนึ่ง ที่อยากให้นิสิตชั้นปี ๓ ปี ๔ ทุกคนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด มาลองเป็นนิสิต LA  โดยจะเรียงลำดับตามความสำคัญจากมากไปน้อย ดังนี้ 
  • เป็นการฝึกประสบการณ์การทำงาน  ผู้ที่ผ่านการปฏิบัติงานและสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ได้รับการประเมิน "ผ่าน" จากอาจารย์ผู้ใช้งานนิสิต LA  ต้องมีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ รอบคอบ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี มีสัมมาคารวะ   ทั้งหมดนี้ จึงได้รับใบประกาศนียบัตร รับรองว่าเป็น "นิสิตผู้ช่วยอาจารย์"  และสามารถมาขอรับงาน LA ได้ในภาคเรียนถัดๆ ไป โดยไม่ต้องสมัครใหม่ 
  • เป็นการฝึกฝน "จิตอาสา" ภายในตน นอกจากจะปฏิบัติงานเป็นผู้ช่วย่อาจารย์แล้ว นิสิต LA จะได้รับข้อมูลข่าวสาร เชิญชวน ให้เข้าร่วมกิจกรรมที่สำคัญๆ ต่างๆ ของทั้งสำนักศึกษาทั่วไป และของมหาวิทยาลัย  และจะได้รับการรับรองเป็นกิจกรรม "จิตอาสา" ในบันทึกของกองกิจการนิสิต
  • มีสิทธิ์ได้รับทุนการศึกษา "นิสิตแกนนำขับเคลื่อนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปต้นแบบ" หรือ "นิสิตจิตอาสาต้นแบบ" 
  • ได้รับค่าตอบแทน ชั่วโมงละ ๒๕ บาท คำนวณแล้วประมาณรายวิชาละ ๗๕๐ บาท ต่อภาคการศึกษา (หากรับผิดชอบ ๔ กลุ่มเรียน หรือ ทำงาน ๘ ชั่วโมงต่อสัปดาห์ จะได้ค่าตอบแทนประมาณ ๓,๐๐๐ บาท ต่อภาคการศึกษา) 
  • ฯลฯ

ขอจบเท่านี้ครับ 
หากท่านมีจิตอาสา ก้าวเข้ามาเลยครับ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น