วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

CADL โครงการเด็กดีมีที่เรียน_17: ค่ายพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปด้านความ "พอเพียง" (๔)

บันทึกที่ (๑) บันทึกที่ (๒)  บันทึก (๓)

สิ่งที่เป็น Best Practice หรือ BP หรือแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดของ "ค่ายพอเพียง" ครั้งนี้ น่าจะเป็นวิธีประหยัดและพึ่งตนเองเรื่องอาหารการกินและที่พัก นิสิตพี่เลี้ยงฝ่ายครัวครั้งนี้ ได้รับคำชมอย่างมาก แม้จะเป็นอาหารง่ายๆ เช่น ไก่ทอด ไข่เจียว ไข่พะโล้ ไก่ทอด ส้มตำ แกงจืด ฯลฯ  ผมสังเกตว่า นิสิตเด็กดีในโครงการฯ ทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้องมีความสามารถและศักยภาพหลากหลายรอบด้าน

กลับมาเรื่องกิจกรรมค่าย วันสุดท้ายเป็นการนำเสนอผลการถอดบทเรียนการเรียนรู้ในพื้นที่ เนื่องจากเวลามีจำกัดมากๆ และมีกิจกรรมเราก็ยิ่งมาก หลังจากนำเสนอจะมีบายสีผลไม้และต่อด้วยการพิธีจากลาจากแบบชาวค่าย จึงมีเวลานำเสนอเพียงกลุ่มละไม่เกิน ๑๐ นาทีเท่านั้น

อย่างไรก็ดี ผมว่ามีสาระที่น่าสนใจมากๆ ที่น่าจะบันทึกไว้ สำหรับใครที่สนใจจะไปทำเกษตรทฤษฎีใหม่ หากใครมีที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ลงศึกษาวิธีการวางแผนของพ่อเรืองศิลป์ ยุบลมาตย์ ต่อไปนี้น่าจะดีครับ




  • มีผลิตผลกว่า ๒๘ ชนิดพร้อมขายในแต่ละวัน ทำให้มีรายได้เฉลี่ยตลอดปีมากกว่าเดือนละ ๑ หมื่นบาท  ในขณะที่รายจ่ายลดลงมาก
  • ให้สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้คนละฝั่งกับบ้านพักโดยขุดบ่อกั้นกลางไว้ เพื่อประโยชน์ ดังนี้ 
    • สัตว์บีก เช่น ไก่ เป็ด ไม่มาขี้ใส่บริเวณบ้าน เพื่อให้แขกหรือลูกค้าที่มาซื้อ เห็นว่าเรื่องความสะอาดของการผลิต ไม่ใช่เฉพาะปลอดสารพิษเท่านั้น 
    • เวลามานอนพัก กลิ่นมูลสัตว์ที่อยู่ไกลไม่รบกวนอากาศบริสุทธิ์ 
    • ถ้าจะขุดสระน้ำ ให้ขุดเป็น ๒ บ่อ ตอนวิดบ่อ (ภาษาบ้านผมเรียก "สาปลา") จะได้ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำทิ้ง สูบน้ำบ่อหนึ่งไปใส่อีกบ่อ พอเก็บปลาหมดก็สูบกลับไปบ่อเดิม นอกจากสะดวก คุ้มค่าแล้ว ยังสามารถเลี้ยงปลาได้หลายชนิด 
  • เลี้ยงกบแบบบ่อธรรมชาติด้วย ทำบ่อดินเป็นแหล่งน้ำ เลี้ยงผักตบ กบช่วยกินแมลง 
  • ทำแปลงผักและระบบน้ำให้ง่ายต่อการรดน้ำ ดูแลได้ด้วยคนๆ เดียว  
  • ปลูกกล้วยไว้ปรับปรุงดินแซมอยู่ทั่วแปลง หลังจากตัดหัวปลีหรือผลไปขาย ตัดหยวกก้วยไปกินหรือให้เป็นหมู่ ส่วนที่เหลืออยู่จะกลายเป็นปุ๋ย
แนะนำให้ไปดูของจริงเองครับ ...
ดึกมากแล้วขอพักบันทึกไว้เท่านี้ .... เขียนบันทึกนี่ก็มีความสุขดีครับ 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น