สถานการณ์ปัจจุบันของแปลงผักตบชวา ที่ถือเป็นแปลงฝึกฝนตนเองด้วยการสืบสานพระราชปณิธานในหลวงรัชกาลที่ ๙ น้อมนำเอา "ศาสตราพระราชา" มาแก้ปัญหาน้ำเสีย ด้วยแนวพระราชดำริ" ใช้อธรรมปรับอธรรม" ใช้ผักตบชวามาแก้ปัญหาน้ำเสีย แสดงดังภาพด้านล่าง
ผมทำสะพานไม้ขึ้นอย่างไม่เป็นทางการโดยไม่เกี่ยวข้องกับนิสิตและชมรมฯ ด้วยเห็นว่าหากปล่อยไว้นาน จากยากต่อการควบคุมปริมาณและจัดระเบียบผักตบชวาที่แตกกระจายออกเป็นแปลงเล็กจากลมฟ้าพายุ ตั้งใจจะทำเป็นแหล่งให้นิสิตได้จัดระเบียบเอาผักตบชวาที่ตอนนี้แต่ละแปลงย่อยแยกกระจายไปรอบๆ บ่อ และที่สำคัญที่สุดคือเพื่อให้นิสิตสามารถลงรื้อเอาผักตบที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้วออกทุกๆ ๔๕ วัน เพื่อให้ผักตอบชวาได้ขยายเจริญเติบโตใหม่ เพราะผักตบชวาที่เจริญเติบโตขึ้นใหม่จะดูดซับเอาสารอินทรีย์ในน้ำไปใช้ในการสร้างใบและลำต้น เป็นการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีธรรมชาติ ในขณะเดียวกันสะพานนี้จะทำให้การควบคุมปริมาณผักตบชวาที่อยู่ในสระได้ง่ายขึ้น... สะพานนี้น่าจะมีอายุประมาณ ๒ ปี หากทางมหาวิทยาลัยที่ดูแลพื้นที่นี้ต้องการจะให้รื้อสะพานออก ผมก็ยินดีจะดำเนินการให้เรียบร้อยต่อไป แต่ปีนี้จำเป็นต้องมีชั่วคราวเพื่อการดังกล่าวก่อน
อาจารย์ ดร.ญาณวุฒิ อุทรลักษณ์ ให้ความอนุเคราะห์ส่งนิสิตคณะวิทยาศาสตร์มาวัดค่าคุณภาพน้ำ ในวันที่ ๑๒ กันยายน ได้ผลดังตาราง
โดยแต่ละตำแหน่งแทนด้วยชื่อ "MSUW..." แสดงดังภาพด้านล่าง
สังเกตว่า ทุกจุดของสระน้ำ คุณภาพน้ำปกติ น้ำไม่เสีย โดยมีค่า ปริมาณออซิเจนที่ละลายในน้ำ (DO) เฉลี่ยอยู่ที่ 6.9 mg/l (น้ำเสียจะมีค่า DO ต่ำกว่า 3 mg/l) ยกเว้นตำแหน่งที่ 5 บริเวณข้างถนน ที่มีค่า DO อยู่ที่ 3.3 เท่านั้น
ข้อมูลที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ ค่าการนำไฟฟ้าของน้ำ (Electric Conductivity, ค่า EC) ที่แสดงดังแผนภูมิด้านล่าง
ค่า EC เฉลี่ยอยู่ที่ 259.3 ไมโครวินาทีต่อเซนติเมตร ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับน้ำสะอาดทั่วไปที่มีค่า EC อยู่ที่ 5 - 30 มิลลิวินาทีต่อเซนติเมตร หรือ 5,000-30,000 ไมโครวินาทีต่อเซ็นติเมตร แสดงว่า น้ำมีสารละลายประเภทเกลือที่มีประจุต่ำอยู่ในปริมาณสูง ซึ่งส่งผลให้น้ำมีฤทธิเป็นกรดที่ทุกจุดที่ตรวจวัด ดังแสดงดังแผนภูมิ
เสียดายที่ทีมนิสิตไม่ได้ลงตรวจคุณภาพน้ำในตำแหน่งสะพานผักตบชวาอยู่ การตรวจครั้งต่อไปคงจะสามารถประเมินได้บ้างว่า ผักตบชวาสามารถบำบัดน้ำเสียได้หรือไม่
ข้อแนะนำสำหรับนิสิตชมรมตามรอยเท้าพ่อ
คำถามที่นิสิตชมรมตามรอยเท้าพ่อทุกคนต้องตอบได้ คือ
- ทำไมเรามาอยู่เป็นสมาชิกชมรมตามรอยเท้าพ่อ
- "รอยเท้าพ่อ" คืออะไร "ศาสตร์พระราชา" คืออะไร
- การ "เดินตามรอยเท้าพ่อ" ทำอย่างไร
- ชมรมกำลังทำอะไร เพื่ออะไร เป้าหมายอยู่ตรงไหน
- ฉันจะรู้ได้อย่างไรว่า ฉันกำลังอยู่บนรอยเท้าพ่อ กำลังเดินตามรอยเท้าพ่อ
คำถามที่นิสิตที่กำลังจะนำเสนอโครงการเดินตามรอยเท้าพ่อ ตอน "บำบัดน้ำเสียโดยใช้อธรรมปราบอธรรม" ต้องตอบได้ คือ
- หลักการทรงงาน "อธรรมปราบอธรรม" (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) รวบรวมไว้) หมายถึงอะไร
- ดูว่าน้ำเสียดูอย่างไร สี กลิ่น เป็นอย่างไร ค่า DO ต่ำกว่าเท่าใดจึงเรียกว่าน้ำเสีย
- น้ำที่สระข้างอาคารบัญชีฯ และ อาคารราชนครินทร์ จัดว่าเป็นน้ำเสียหรือไม่
- สาเหตุที่ทำให้น้ำในสระดังกล่าวมีคุณภาพลดลง คืออะไรบ้าง
- โครงการตามรอยพ่อ ตอน "บำบัดน้ำเสีย ด้วยผักตบชวา..... " มีวัตถุประสงค์อะไรบ้าง เรียงลำดับตามความสำคัญ
- แนวคิดหรือหลักคิดในการทำงานโครงการนี้คืออะไร ให้อธิบาย
- ผลที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม คืออะไรบ้าง
- พบปัญหาและอุปสรรคใดบ้าง
- มีแผนจะทำอย่างไรต่อไป
คำถามสำหรับนิสิต สมาชิกชมรมทุกคน
- การเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับโครงการนี้ ส่งผลต่อข้าพเจ้าอย่างไรบ้างหรือไม่ ทำให้ข้าพเจ้ามีพฤติกรรมอะไรเปลี่ยนจากที่ไม่ได้เข้าร่วมหรือไม่ (ความคิด วิธีคิด ความรู้ ทักษะ ฯลฯ) ให้เขียนอธิบายด้วยจะดี
- ข้าพเจ้าได้เรียนรู้อะไรบ้าง ตรงไหนที่ประทับใจที่สุด ตรงไหน (กิจกรรมใด) ตอนไหน (เมื่อใด)
- ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ "รอยเท้าพ่อ" มากขึ้นอย่างไร จากโครงการนี้
- ปัญหาหรืออุปสรรค หรือ สิ่งใดที่ข้าพเจ้าอยากจะทำแต่ยังไม่ได้ทำ
- หากข้าพเจ้าเป็น "ประธานชมรมตามรอยเท้าพ่อ" ข้าพเจ้าจะ............................ (เติมมาสัก ๓ ข้อ)
สุดท้ายนี้ขอให้ นิสิตชมรมเดินตามรอยเท้าพ่อ ประสบความสุข รู้ทุกข์ เพียรละเหตุแห่งทุก จนเกิดสุขเป็นนิโรจ ตามรู้ตามดูความโกรธ โลภ หลง บนเส้นทางแห่งมรรคมีองค์ ๘ โดยเร็วเถิด
อาจารย์เข้าใจว่า ในหลวงรัชกาลที่ ๙ สอน สิ่งสำคัญ ๓ ประการ ที่นิสิตเดินตามรอยเท้าพ่อ ควรจะฝึกฝนบนเส้นทางนี้ คือ
- ทำความดี มีจิตอาสา พัฒนาส่วนรวม (ฝึกมองประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน)
- สามัคคี
- ปิดทองหลังพระ (จงฝึกทำความดี โดยไม่หวังผลตอบแทนใดๆ ให้เป็นนิสัย) .... ข้อหลังนี้ทำยากที่สุด
- ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- หลังการทรงงาน
- ขั้นตอนการทรงงาน
- ศาสตร์พระราชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ตนเองกำลังกระทำอยู่ "หน้างาน"
ข้อแนะนำสำหรับการนำเสนอ
- นำเสนอความจริง
- นำเสนอด้วยใจ โดยใช้การเล่าเรื่อง (Story Telling) (ห้ามไปอ่านให้กรรมการฟังเด็ดขาด เว้นแต่เพียงการอ่านสั้น เช่น อาจพระราชดำริ) ด้วยความมั่นใจ ภูมิใจที่ได้ทำสิ่งนี้
- ทำเพาเวอร์พอยท์ ที่แสดงข้อมูล เป็นภาพ เป็นตัวเลข เป็นกราฟ ไม่ใช่แสดงเรื่องราวเป็นตัวหนังสือ ... เพาเวอร์พอยท์ช่วยคนเสนอ ไม่ใช่คนนำเสนอช่วยเพาเวอร์พอยท์
- พูดชัดเจน เสียงดังพอเหมะ มีจังหวะ ไม่พูดซ้ำคำ หรือสร้อยคำ หรือคำฮิตติดปาก เช่น "นะคะ" "แบบว่า" "อะไรทำนองนี้" เป็นต้น (พูดอย่างพอประมาณ)
ขออนุโมทนากับศรัทธา ปัญญา และความเพียร ของทุกคนครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น